การประชุมวิชาการประจำปี 2565 ครั้งที่ 15
15th Annual Meeting 2022
โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
วันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2565
การประชุมวิชาการประจำปี 2565 ครั้งที่ 15
อัตราค่าลงทะเบียน
แพทย์/ทันตแพทย์ | บุคลากรสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
สมาชิกสมาคมฯ | ไม่ใช่สมาชิกสมาคมฯ | *Trainees (Residents/PG) |
สมาชิกสมาคมฯ | ไม่ใช่สมาชิกสมาคมฯ | *Trainees (Residents/PG) |
|
วันนี้ - 31 ตุลาคม 2565 | 1,800 | 2,000 | 1,600 | 1,600 | 1,800 | 1,400 |
1-9 พฤศจิกายน 2565 | 2,000 | 2,200 | 1,800 | 1,800 | 2,000 | 1,600 |
ลงทะเบียนในวันประชุม | 2,200 | 2,700 | 2,000 | 2,000 | 2,200 | 1,800 |
* Trainee ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันฝึกอบรม
** สำหรับสมาชิกตลอดชีพ (อายุเกิน 65 ปี) ยกเว้นค่าลงทะเบียนงานประชุม THAI CLEFT 2022
** ค่าลงทะเบียนดังกล่าวรวมอาหารกลางวัน ของว่างในระหว่างการประชุม และ Welcome Reception
** ผู้เข้าร่วมประชุมที่มีผู้ติดตาม หากผู้ติดตามของท่านต้องการร่วม Welcome Reception มีค่าใช้จ่ายท่านละ 500 บาท ติดต่อได้ที่ รองเลขาธิการสมาคม 087-7099824
สารจากนายก
กระผมในนามตัวแทนของสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศ ไทยและคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 15 ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ โรงพยาบาลน่านเป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2565 ของสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย
ในวันนี้ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นอย่างมาก ต้องการอาศัยการดูแลรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาอย่างต่อเนื่องเวลา
ยาวนาน สมาคมพิการปากแหว่ง เพดานโหว ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทยเป็นสมาคมวิชาชีพที่
ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพมีภารกิจในการพัฒนาระบบและดูแลมาตรฐานการดูแลรักษา
ผู้ป่วยรวมทั้งส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกการจัดประชุมวิซาการประจำปีเป็นเครื่องมือ
สำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้ภารกิจดังกล่าวสำเร็จลุล่วง โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้ง
สมาคมการประชุมวิชาการประจำปีในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือกับโรงพยาบาลน่านร่วมเป็นเจ้าภาพ มี
ระยะเวลาการประชุม 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 ถึง 11 พฤศจิกายน 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้เชี่ยวชาญ
สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด จากทั้งโรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 200 คน โดยได้รับการ
สนับสนุนการดำเนินงานจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย Smile Train USA บริษัท เอทีเค เมดิก้า จำกัด
มูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ บริษัท เมติคูลี่ จำกัด บริษัท เมดเดฟ เอ็ลธ์แคร์ จำกัด สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์ตะวันฉาย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตาม
พระดำริฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัทต่าง ๆ ที่มาร่วมนิทรรศการในงาน
สารจากเจ้าภาพ
กระผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งได้รับเกียรติเป็นประธานเปิดงานประชุมในวันนี้ จากคำกล่าวรายงานของท่าน นายกสมาคมฯ ทำให้ทราบว่าปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของใบหน้าและศีรษะ เป็นเรื่องสำคัญทางสาธารณสุข ความพิการที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของ ผู้ป่วยและครอบครัวมีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว การดูแลรักษาจำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องอาศัยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถผ่าน พ้นวิกฤตสำคัญ และดำเนินชีวิตต่อไปได้ สำหรับการประชุมวิซาการในครั้งนี้
ผมขอขอบคุณทางสมาคมฯ
ที่ได้เห็นความสำคัญของระบบการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล การประชุมวิซาการในลักษณะนี้น่าจะช่วย
ยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต่อไป ผมขอขอบคุณ
คณะกรรมการจัดการประชุมฯ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจทำให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้ ได้รับทราบว่ามีการ
ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมด้วยการท่องเที่ยวเมืองน่านของพวกเราตั้งแต่เมื่อวานนี้ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุก
ท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธีสร้างรอยยิ้ม ประเทศไทย Smile Train องค์กรและบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่
สนับสนุนงบประมาณในการประชุม ผมขออวยพรให้การจัดการประชุมวิซาการประจำปี ครั้งที่ 15 ของ
สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้ทุกประการ
จำนวนผู้ลงทะเบียนแยกตามสหสาขาวิชาชีพ
ผู้เข้าร่วมการประชุม | จำนวน |
---|---|
79 | |
39 | |
31 | |
149 |
วิทยากร | จำนวน |
---|---|
20 | |
26 | |
46 |