Thaicleft
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ
    • ข้อมูลสมาคม
    • ประวัติ
    • กรรมการบริหารชุดปัจจุบัน
    • กรรมการบริหารในอดีต
    • รางวัลทรงเกียรติ
    • -- Lifetime Achievement Award
    • -- Award of Special Merit
  • เครือข่าย
    • เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ
    • เครือข่ายสถานพยาบาล

    • TCCA Journal Club
    • โครงการรวมพลัง เครือข่าย ขยายรอยยิ้ม
  • ประชุมประจำปี
    • ปีปัจจุบัน
    • ครั้งก่อน ๆ
  • แหล่งความรู้
    • แนวทางการดูแลรักษา
    • -- แนวทางการดูแลปากแหว่งเพดานโหว่

    • เสวนาประชาชน
    • ความผิดปกติของการสื่อความหมาย
    • ความผิดปกติทางด้านหู คอ จมูก
    • การสนับสนุนการวินิจฉัยด้วยการตรวจทางพันธุกรรม
    • ความรู้ทางการพยาบาล
  • ติดต่อ

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

ฉบับปี 2565

Thailand Consensus on Cleft Care 2022 (TCCC 2022 for Clefts):
The National Guideline

การดูแลรักษาเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนการแต่งงาน เมื่อมีความตั้งใจจะมีบุตร ต่อเนื่องถึงช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอด วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น จนโตเป็นผู้ใหญ่
ผู้ป่วย/บิดามารดา(ผู้ปกครอง) ควรได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานโดยพบผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ตามช่วงเวลาที่แสดงไว้เป็นสีเขียว และหากเป็นไปได้ ควรได้พบผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ตามที่แสดงไว้เป็นสีฟ้า
ก่อนตั้งครรภ์
เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค คัดกรองกลุ่มเสี่ยง แนะนำการรับประทานโฟเลต
พยาบาลวิชาชีพ

คัดกรองคู่สมรสกลุ่มเสี่ยง ให้คำแนะนำด้านโภชนาการเพื่อลดโอกาสการเกิดโรค

กุมารแพทย์

ให้คำปรึกษาคู่สมรสทางด้านพันธุศาสตร์  หากยังไม่เคยมีประวัติว่าบุตรเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ ให้กินยาเม็ดโฟเลตอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน  หากมีประวัติบุตรเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ ให้กินยาเม็ดโฟเลตอย่างน้อย 4 มิลลิกรัมต่อวัน

ช่วงตั้งครรภ์
เพื่อค้นหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
สูติแพทย์

ตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวน์

ศัลยแพทย์

ให้คำปรึกษาบิดามารดาเกี่ยวกับการผ่าตัด

พยาบาลวิชาชีพ

ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่

นักจิตวิทยา

ให้คำปรึกษาประคับประคองจิตใจบิดามารดา

ช่วงอายุ 0-3 เดือน
ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แนะนำการดูแลสุขภาพทารกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัดวซ่อมแซมปากบน และตรวจคัดกรองการได้ยิน
พยาบาลวิชาชีพ

ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่ (เน้นการให้นมจากเต้าของมารดาเท่าที่เป็นไปได้) ดูแลเรื่องการให้นม  ตรวจคัดกรองการได้ยิน  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ตรวจสุขภาพทั่วไป และความแข็งแรงของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ  ดูแลด้านจิตใจ  และเตรียมทารกให้เติบโตแข็งแรง พร้อมผ่าตัดเย็บริมฝีปาก

กุมารแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง

*ตรวจดูแลสุขภาพทั่วไป ความแข็งแรงของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ดูแลเรื่องการให้นม (เน้นการให้นมจากเต้าของแม่เท่าที่เป็นไปได้) ประคับประคองจิตใจ และเตรียมทารกให้เติบโตแข็งแรงเพื่อพร้อมรับการผ่าตัดเย็บริมฝีปาก

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ตรวจคัดกรองการได้ยิน

ทันตแพทย์

แนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และส่งต่อทันตแพทย์เฉพาะทางในกรณีที่พบความผิดปกติที่รุนแรง

พยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง

ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่ ให้คำปรึกษาคู่สมรสทางด้านพันธุศาสตร์

ทันตแพทย์เฉพาะทาง

ให้การบำบัดทางทันตกรรมก่อนการผ่าตัด (เช่น เพดานเทียม อุปกรณ์ปรับโครงสร้าง จมูกและสันเหงือก และอื่น ๆ)

นักจิตวิทยา

ประคับประคองจิตใจบิดามารดา ถ้าจำเป็น

กุมารแพทย์

ให้คำปรึกษาคู่สมรสทางด้านพันธุศาสตร์

ช่วงอายุ 3-6 เดือน
ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของริมฝีปาก ตรวจการได้ยิน ประเมินพัฒนาการทางด้านภาษาหากมีเพดานโหว่
ศัลยแพทย์

ผ่าตัดซ่อมปากแหว่ง และ/หรือตกแต่งจมูก

ทันตแพทย์

ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ก่อนฟันน้ำนมจะขึ้น

กุมารแพทย์ หรือพยาบาลเฉพาะทาง หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือนักแก้ไขการพูด

ประเมินพัฒนาการด้านภาษาและเสียงพูด (กรณีเพดานโหว่)

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ตรวจหูและตรวจการได้ยินที่เป็นมาตรฐาน และฟื้นฟูการได้ยินเมื่อพบปัญหา

พยาบาลวิชาชีพ

ให้คำแนะนำ ดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด

นักแก้ไขการพูด

(กรณีเพดานโหว่) กระตุ้นภาษาและการพูดแต่แรกเริ่มก่อนจะพูดเป็นคำที่มีความหมายโดยพ่อแม่และครอบครัว

ช่วงอายุ 6-18 เดือน
ผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่และผ่าตัดแก้ไขใส่ท่อระบายน้ำในหูชั้นกลางหากมีปัญหา ตรวจการได้ยิน กระตุ้นพัฒนาการทางภาษาและการพูด พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ประเมินพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ตรวจการได้ยินที่เป็นมาตรฐานในช่วงอายุ 9 และ 18 เดือน หรือเมื่อมีความกังวลเกี่ยวกับการได้ยิน

ศัลยแพทย์

ผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่เมื่ออายุประมาณ 9-18 เดือน

โสต ศอ นาสิกแพทย์

เจาะแก้วหูพร้อมใส่ท่อระบายถ้ามีปัญหาหูชั้นกลาง

นักแก้ไขการพูด

(กรณีเพดานโหว่) ประเมินและกระตุ้นให้เด็กมีภาษาและการพูดได้เหมาะสมกับวัย ออกเสียงให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการพูดไม่ชัดแบบชดเชย

ทันตแพทย์

พบทันตแพทย์ตามนัดทุก 6 เดือน เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก และตรวจรักษาในรายที่พบปัญหาฟันผุ

กุมารแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพ

ประเมินพัฒนาการและดูแลสุขภาพทั่วไป

พยาบาลวิชาชีพ

ประเมินการเจริญเติบโตและประคับประคองจิตใจบิดามารดา

พยาบาลวิชาชีพหรือกุมารแพทย์

ประเมินการเจริญเติบโต พัฒนาการ ดูแลสุขภาพทั่วไป และประคับประคองจิตใจบิดามารดา

ช่วงอายุ 18 เดือน ถึง 3 ปี
ประเมินพัฒนาการทางการได้ยินและการพูดอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นพัฒนาการทางภาษา ส่งตรวจการได้ยินหากพบความผิดปกติ ดูแลสนับสนุนทางจิตใจผู้ปกครองและผู้ป่วย
นักแก้ไขการพูด

เน้นการกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้เด็กมีภาษา การพูด และการออกเสียงอย่างถูกต้อง

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ประเมินพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ตรวจการได้ยินที่เป็นมาตรฐาน หรือเมื่อผู้ปกครองมีความกังวลเกี่ยวกับการได้ยิน

ทันตแพทย์

รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก และตรวจรักษาในรายที่พบปัญหาฟันผุ ทุก ๆ 6 เดือน

นักจิตวิทยา หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือกุมารแพทย์

ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี

พยาบาลวิชาชีพ

ติดตามให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และประสานงานกับแหล่งสิทธิประโยชน์ เช่น สังคมสงเคราะห์

ช่วงอายุ 3-6 ปี
ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติอื่น ๆ ที่ยังเหลืออยู่ พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้ปกครองและผู้ป่วย
นักแก้ไขการพูด

ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด เสียงลมรั่วออกจมูก และการสั่นพ้องของเสียงตามมาตรฐาน

ศัลยแพทย์

ตรวจสอบและพิจารณาแก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่อาจหลงเหลืออยู่ รวมทั้งการผ่าตัดแก้ไขปัญหาทางการพูด เช่น เสียงรั่วออกจมูก

ทันตแพทย์

นัดทุก 6 เดือนเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก และตรวจรักษาในรายที่พบปัญหาฟันผุ

นักจิตวิทยา หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือกุมารแพทย์

ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย  ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี

กุมารแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพ

ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง

ทีมสหสาขาวิชาชีพ

ประเมินผลการรักษาที่อายุ 5 ปี  ประเมินคุณภาพชีวิต 5 ด้าน คือ 1. ด้านการรักษา 2. ด้านการบริการ 3. ด้านค่ารักษา 4. ด้านจิตสังคม 5. ด้านผลกระทบต่อครอบครัว และประเมินภาพลักษณ์จากรูปภาพผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล

ช่วงอายุ 6-8 ปี
ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่ยังหลงเหลือ ประเมินพัฒนาการทางการพูดและติดตามการได้ยินอย่างต่อเนื่อง พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
นักแก้ไขการพูด

ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด การสั่นพ้องของเสียง และลมรั่วออกจมูก ตามมาตรฐานและต่อเนื่อง

ศัลยแพทย์

ตรวจสอบและพิจารณาแก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่อาจหลงเหลืออยู่ รวมทั้งการผ่าตัดแก้ไขปัญหาทางการพูด เช่น เสียงรั่วออกจมูก

ทันตแพทย์

นัดทุก 6 เดือน เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปากและส่งต่อทันตแพทย์จัดฟัน เพื่อให้การรักษาการสบฟันที่ผิดปกติในระยะฟันชุดผสม

นักจิตวิทยา

ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง

กุมารแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพ

ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี

ทันตแพทย์จัดฟัน

ให้การรักษาการสบฟันที่ผิดปกติในระยะฟันชุดผสม ตรวจเบื้องต้นโดยการเอกซเรย์ เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจต้องพบทันตแพทย์จัดฟันก่อนเวลา

ช่วงอายุ 8-12 ปี
พบทันตแพทย์จัดฟันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัดกรณีที่มีสันเหงือกแหว่ง ผ่าตัดแก้ไขสันเหงือกแหว่ง ประเมินพัฒนาการทางการพูดและติดตามการได้ยินอย่างต่อเนื่อง
ทันตแพทย์จัดฟัน

ให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพื่อเตรียมช่องว่างที่เหมาะสมในขากรรไกรบนก่อนการปลูกกระดูกเบ้าฟัน(ในกรณีที่มีสันเหงือกแหว่ง) และกระตุ้นการเจริญของขากรรไกรบนในรายที่เหมาะสม

ศัลยแพทย์

แก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่หลงเหลืออยู่ และในกรณีที่มีสันเหงือกแหว่ง ผ่าตัดปลูกกระดูกบริเวณรอยแยกสันเหงือก

นักแก้ไขการพูด

ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด การสั่นพ้องของเสียง และลมรั่วออกจมูกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังการผ่าตัดสันเหงือก (ในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัด)

นักจิตวิทยา

ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง

กุมารแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพ

ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี

ทีมสหสาขาวิชาชีพ

ประเมินผลการรักษาที่อายุ 10 ปี  ประเมินคุณภาพชีวิต 5 ด้าน คือ 1. ด้านการรักษา 2. ด้านการบริการ 3. ด้านค่ารักษา 4. ด้านจิตสังคม 5. ด้านผลกระทบต่อครอบครัว และประเมินภาพลักษณ์จากรูปภาพผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล

นักจิตวิทยา หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือกุมารแพทย์

ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดา มารดา และผู้ป่วย

ช่วงอายุ 12-18 ปี
ผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติมในรายที่จำเป็น พบทันตแพทย์จัดฟันเพื่อรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน หรือรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด ติดตามการพูดและการได้ยินอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้ปกครองและผู้ป่วย ให้คำแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการเกิดโรคเพื่อวางแผนครอบครัว
ทันตแพทย์

ตรวจรักษาและดูแลสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน

ทันตแพทย์จัดฟัน ร่วมกับศัลยแพทย์

วางแผนการจัดฟันแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและการสบฟัน โดยการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพียงอย่างเดียว หรือการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดและการบูรณะช่องปากร่วมกับทันตแพทย์สหสาขาวิชาในกรณีที่มีความผิดปกติที่ซับซ้อนมาก

ศัลยแพทย์

ผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติมในรายที่จำเป็น

นักแก้ไขการพูด

ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด และการสั่นพ้องของเสียงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังการผ่าตัดขากรรไกร(ในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัด)

นักจิตวิทยา หรือพยาบาลวิชาชีพ หรือกุมารแพทย์

ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี คัดกรองปัญหาสุขภาพจิต ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดา มารดา และผู้ป่วย

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยิน

ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง

กุมารแพทย์

ให้คำแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับปัจจัยทางพันธุกรรมของภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ สำหรับการวางแผนครอบครัว

จิตแพทย์

พบจิตแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง

ทีมสหขาสาขาวิชาชีพ

ประเมินผลการรักษาที่อายุ 19 ปี  ประเมินคุณภาพชีวิต 5 ด้าน คือ 1. ด้านการรักษา 2. ด้านการบริการ 3. ด้านค่ารักษา 4. ด้านจิตสังคม 5. ด้านผลกระทบต่อครอบครัว และประเมินภาพลักษณ์จากรูปภาพผู้ป่วยตามมาตรฐานสากล

นิยาม

โสต ศอ นาสิกแพทย์ หมายถึง แพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งที่ให้การดูแลรักษาทั้งการใช้ยาและการผ่าตัดโรคที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก และเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่องปากไซนัส ต่อมน้ำลาย และท่อลม ซึ่งรวมไปถึงโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจตอนบน/หรือตอนต้น (โรคภูมิแพ้หูคอจมูก)

กุมารแพทย์ หมายถึง แพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคและความเจ็บป่วยที่เกิดกับเด็ก

จิตแพทย์ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทางจิตเวชศาสตร์ เป็นผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น หรือสาขาหรืออนุสาขาอื่นทางจิตเวชศาสตร์ของแพทยสภา

ทันตแพทย์ หมายถึง ทันตแพทย์ที่ให้การตรวจ วินิจฉัย บำบัด ป้องกันโรคฟันและช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้า รวมทั้งการศัลยกรรม การบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าและขากรรไกร

ทันตแพทย์เฉพาะทาง หมายถึง ทันตแพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากทันตแพทยสภาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสาขาดังนี้

  1. ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
  2. ปริทันตวิทยา
  3. ทันตกรรมสําหรับเด็ก
  4. ทันตกรรมจัดฟัน
  5. ทันตกรรมประดิษฐ์
  6. ทันตสาธารณสุข
  7. วิทยาเอ็นโดดอนต์
  8. ทันตกรรมหัตถการ
  9. วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก
  10. ทันตกรรมทั่วไป
  11. สาขาอื่น ๆ โดยออกเป็นระเบียบทันตแพทยสภา

ทันตแพทย์จัดฟัน หมายถึง ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟัน โดยได้รับการศึกษาต่อเฉพาะทางจัดฟัน จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่มีหลักสูตรอย่างน้อย 2 ปี และได้รับการรับรองจาก ก.พ.

ทีมสหสาขาวิชาชีพ หมายถึง บุคลากรสหวิชาชีพ ได้แก่

  1. บุคลากรซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ 7 สายงานได้แก่ นักรังสีการแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก นักฟิสิกส์รังสี และนักการแพทย์แผนไทย
  2. บุคลากรอื่น มี 7 สายงาน ได้แก่ นักวิชาการทันตสาธารณสุข นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษาพิเศษ นักกายอุปกรณ์ นักวิชาการอาหารและยา

นักแก้ไขการได้ยิน หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบการได้ยิน ตั้งแต่หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน ก้านสมอง และสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ด้วยวิธีปกติและวิธีพิเศษ ตลอดจนตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบที่เกี่ยวข้อง

นักแก้ไขการพูด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพูด ตรวจคัดกรอง ประเมินความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน แยกประเภทความผิดปกติต่าง ๆ บำบัดรักษา แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดและการกลืน

นักจิตวิทยา หมายถึง ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจแนวคิด ความปรารถนา แรงจูงใจ อารมณ์ของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการแสดงออก  โดยอาศัยวิชาการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา นำข้อมูลทางจิตวิทยามาตีความและนำผลของการศึกษามาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมให้กลับมาเข้าใจในชีวิตที่ถูกต้อง

พยาบาลเฉพาะทาง หมายถึง พยาบาลเฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล

พยาบาลวิชาชีพ หมายถึง ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยพยาบาลที่สภาการพยาบาลรับรอง  มีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง (ไม่ถูกพักใช้หรือเพิกถอนหรือหมดอายุ)

ศัลยแพทย์ หมายถึง ศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ อันได้แก่ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ศัลยแพทย์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

สูติแพทย์ หมายถึง แพทย์ผู้ทำคลอด วินิจฉัย ดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ทั้งการตั้งครรภ์ที่ปกติ ผิดปกติ และการคลอด

หมายเหตุ

  • แนวทางการดูแลรักษานี้ได้รับการพิจารณาจากสหสาขาวิชาชีพในช่วงการประชุมวิชาการประจำปี 2565 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
  • เนื้อหาที่ปรากฏนี้สามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละสถานพยาบาล และเป็นเพียงคำแนะนำ ไม่มีผลทางกฏหมาย

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฉบับปีก่อน ๆ

  • ฉบับปี 2564 (TCCC 2021)
สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย

สำนักงานชั่วคราว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ตึก สก. ชั้น 14) 1873 ถ.พระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330

CONTACT US
  • โทรศัพท์: 0-2256-4330

  • โทรสาร: 0-2256-5314

  • อีเมล์: thaicleft@gmail.com

สมัครสมาชิกออนไลน์
Download ใบสมัครเป็นสมาชิก

© Copyright 2021. All Rights Reserved.