คัดกรองคู่สมรสกลุ่มเสี่ยง ให้คำแนะนำด้านโภชนาการเพื่อป้องกันโรค
ให้คำปรึกษาคู่สมรสทางด้านพันธุศาสตร์
ตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวน์
ให้คำปรึกษาบิดามารดาเกี่ยวกับการผ่าตัด
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่
ประคับประคองจิตใจบิดามารดา
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่ ตรวจคัดกรองการได้ยิน
ประเมินการได้ยิน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
*ตรวจดูแลสุขภาพทั่วไป ความแข็งแรงของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ดูแลเรื่องการให้นม (เน้นการให้นมจากเต้าของแม่เท่าที่เป็นไปได้) ประคับประคองจิตใจ และเตรียมทารกให้เติบโตแข็งแรงเพื่อพร้อมรับการผ่าตัดเย็บริมฝีปาก
ตรวจคัดกรองการได้ยิน
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และส่งต่อทันตแพทย์เฉพาะทางในกรณีที่พบความผิดปกติที่รุนแรง
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัด
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่
ให้การบำบัดทางทันตกรรมก่อนการผ่าตัด (เช่น เพดานเทียม อุปกรณ์ปรับโครงสร้าง จมูกและสันเหงือก และอื่น ๆ)
ประคับประคองจิตใจบิดามารดา ถ้าจำเป็น
ผ่าตัดซ่อมปากแหว่ง และ/หรือตกแต่งจมูก
ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ก่อนฟันน้ำนมจะขึ้น
ประเมินพัฒนาการด้านภาษาและเสียงพูด (กรณีเพดานโหว่)
ตรวจหูและตรวจการได้ยินที่เป็นมาตรฐาน และฟื้นฟูการได้ยิน
ดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
(กรณีเพดานโหว่) กระตุ้นภาษาและการพูดแต่แรกเริ่มก่อนจะพูดเป็นคำที่มีความหมายโดยพ่อแม่และครอบครัว
ประเมินพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ตรวจการได้ยินที่เป็นมาตรฐานในช่วงอายุ 9 และ 18 เดือน หรือเมื่อมีความกังวลเกี่ยวกับการได้ยิน
เมื่ออายุประมาณ 9-18 เดือน ผ่าตัดซ่อมเพดานโหว่ และเจาะแก้วหูพร้อมใส่ท่อระบาย(โดยโสต ศอ นาสิกแพทย์) ถ้ามีปัญหาหูชั้นกลาง
(กรณีเพดานโหว่) ประเมินและกระตุ้นให้เด็กมีภาษาและการพูดได้เหมาะสมกับวัย ออกเสียงให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการพูดไม่ชัดแบบชดเชย โดยพ่อแม่และครอบครัว เมื่ออายุ 1 ปี ไม่เกิน 18 เดือน
พบทันตแพทย์ตามนัดทุก 6 เดือน เพื่อให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก และตรวจรักษาในรายที่พบปัญหาฟันผุ
ประเมินพัฒนาการและดูแลสุขภาพทั่วไป
ประเมินการเจริญเติบโตและประคับประคองจิตใจบิดามารดา
เน้นการกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้เด็กมีภาษา การพูด และการออกเสียงอย่างถูกต้อง โดยพ่อแม่ ผู้ดูแล สมาชิกในครอบครัว ร่วมกับนักแก้ไขการพูด
ประเมินพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ตรวจการได้ยินที่เป็นมาตรฐานในช่วงอายุ 24 และ 30 เดือน หรือเมื่อมีความกังวลเกี่ยวกับการได้ยิน
พบทันตแพทย์ตามนัดทุก 6 เดือน เพื่อให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก และตรวจรักษาในรายที่พบปัญหาฟันผุ
ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย
ประเมินพัฒนาการและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 6 เดือน - 1 ปี
ติดตามให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และประสานงานกับแหล่งประโยชน์ เช่น สังคมสงเคราะห์
ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด และการสั่นพ้องของเสียงอย่างเป็นทางการ
ตรวจสอบและพิจารณาแก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่อาจหลงเหลืออยู่ รวมทั้งการผ่าตัดแก้ไขปัญหาทางการพูด เช่น เสียงรั่วออกจมูก
พบทันตแพทย์ตามนัดทุก 6 เดือน เพื่อให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก และตรวจรักษาในรายที่พบปัญหาฟันผุ
ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย
ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี
ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
ประเมินผลการรักษาที่อายุ 5 ปี
ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด และการสั่นพ้องของเสียงอย่างเป็นทางการและต่อเนื่อง
ตรวจสอบและพิจารณาแก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่อาจหลงเหลืออยู่ รวมทั้งการผ่าตัดแก้ไขปัญหาทางการพูด เช่น เสียงรั่วออกจมูก
พบทันตแพทย์ตามนัดทุก 6 เดือน เพื่อให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปากและส่งต่อทันตแพทย์จัดฟัน เพื่อให้การรักษาการสบฟันที่ผิดปกติในระยะฟันชุดผสม
ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย
ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี
ทันตแพทย์จัดฟันให้การรักษาการสบฟันที่ผิดปกติในระยะฟันชุดผสม
ให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพื่อเตรียมช่องว่างที่เหมาะสมในขากรรไกรบนก่อนการปลูกกระดูกเบ้าฟัน(ในกรณีที่มีสันเหงือกแหว่ง) และกระตุ้นการเจริญของขากรรไกรบนในรายที่เหมาะสม
แก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่หลงเหลืออยู่ และในกรณีที่มีสันเหงือกแหว่ง ผ่าตัดปลูกกระดูกบริเวณรอยแยกสันเหงือก
ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด และการสั่นพ้องของเสียงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังการผ่าตัดสันเหงือก(ในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัด)
ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย
ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี
ประเมินผลการรักษาที่อายุ 10 ปี
ตรวจรักษาและดูแลสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน โดยทันตแพทย์ทั่วไป
ทันตแพทย์จัดฟันแก้ไขความผิดปรกติของความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรและการสบฟันโดยการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพียงอย่างเดียว หรือการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดในกรณีที่มีความรุนแรงของความผิดปกติที่ซับซ้อนมากโดยศัลยแพทย์ตกแต่งหรือศัลยแพทย์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
ในรายที่จำเป็น อาจต้องแก้ไขความผิดปรกติของปากและจมูกที่หลงเหลืออยู่
ตรวจประเมินและแก้ไขปัญหาทางภาษา การพูด และการสั่นพ้องของเสียงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังการผ่าตัดขากรรไกร(ในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัด)
ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นในบิดามารดาและผู้ป่วย
ตรวจและติดตามปัญหาการได้ยินปีละ 1 ครั้ง
ประเมินและดูแลสุขภาพทั่วไปทุก 1 ปี
ประเมินผลการรักษาที่อายุ 19 ปี