โครงการ
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความพิการแต่กำเนิดบนใบหน้าที่พบบ่อยที่สุดและทำให้เกิดปัญหาหลายด้าน
ารดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจให้กลับมาสู่สภาพปกติมากที่สุด มีชีวิตในสังคมตามปกติดังเช่นคนทั่วไป จำเป็นต้องอาศัยการรักษาที่ดีตามช่วงเวลาและมีการติดตามผลเป็นระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มเติม
การดูแลรักษาต้องเริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ การดูแลตั้งแต่แรกคลอด จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์ โดยอาศัยทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น ศัลยแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟัน นักแก้ไขการพูด แพทย์โสตศอนาสิก นักจิตวิทยา พยาบาลชำนาญเฉพาะทาง เป็นต้น ซึ่งมักจะพบเฉพาะที่ศูนย์การดูแลเฉพาะทาง (Cleft Center) ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ต้องมีทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดการดูแลรักษาเชิงรุกอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องยาวนาน ผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเฉกเช่นคนที่ปกติ จะเห็นได้ว่า ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการซึ่งอาจจะไม่ได้มีพร้อมในสถานพยาบาลทุกแห่ง
รงพยาบาลประจำจังหวัดเป็นสถานพยาบาลที่เหมาะสมในระดับภูมิภาค แต่ปัญหาทางด้านระบบงาน งบประมาณ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างมีคุณภาพ
เพิ่มเติม
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยย่อมไม่ประสงค์ที่จะเดินทางไกลโดยไม่จำเป็น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ที่มีอยู่ประจำจังหวัดต่าง ๆ จึงเป็นศูนย์รวมการดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ แต่เนื่องจากภาระงานที่ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค ผู้ป่วยทุกประเภทต้องได้รับการดูแล ไม่เฉพาะเพียงปากแหว่งเพดานโหว่ ผู้เชี่ยวชาญมักมีภาระงานล้นมือหรืออาจมีผู้เชี่ยวชาญไม่ครบถ้วนทุกสาขา การติดตามผู้ป่วยเชิงรุกเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่เกิดจนเป็นผู้ใหญ่เป็นเรื่องยาก ในทางปฏิบัติจึงพบมีโรงพยาบาลในภูมิภาคบางแห่งเท่านั้นที่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ได้ตามมาตรฐานสากล แม้ว่าหลาย ๆ โรงพยาบาลมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความสนใจที่จะดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่มีปัญหาอุปสรรคที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ
มาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย มีพันธกิจและวัตถุประสงค์ที่ตรงกับสิ่งที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ต้องการ
เพิ่มเติม
สมาคมความพิการปากแหว่งฯ มีพันธกิจในการสร้างระบบการดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้พิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ โดยความร่วมมือสหสถาบัน ในการให้การศึกษา ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ การวิจัย และส่งเสริมการดูแลแบบสหวิทยาการ การดำเนินการมุ่งเน้นการดูแลแบบองค์รวม โดยมีการออกแบบให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น สภาวะทางสังคม เศรษฐศาสตร์ และนโยบายด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์หลักของสมาคมจึงเป็นการดำเนินการให้เป็นศูนย์กลางการประสานงานของบุคลากรของทีมสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐาน ทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกเพื่อร่วมกันดูแลมาตรฐานการดูแลรักษาผู้พิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ ให้มีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยในปัจจุบันสมาคมความพิการปากแหว่งฯ มีเครือข่ายสมาชิกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ 13 สาขาจำนวน 214 คน (เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 64) มีเครือข่ายสถานพยาบาลที่สามารถสนับสนุนทั้งผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรม ประชุมวิชาการ รวมถึงการผลิตเอกสารทางวิชาการ ตำรา และงานวิจัย โดยมีแหล่งเงินทุนจากผู้บริจาคทั้งในและนอกประเทศ
มาคมความพิการปากแหว่งฯ จึงได้จัดให้มีโครงการนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลทั่วประเทศที่มีความสนใจ
เพิ่มเติม
ต้องการร่วมดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องยาวนาน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ พัฒนาระบบการดูแลรักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ที่เหมาะสมยั่งยืนสำหรับประเทศไทย
กลุ่มเป้าหมาย
โรงพยาบาลทั่วประเทศที่มีผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้พิการปากแหว่งเพดานโหว่ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมความพิการปากแหว่งฯ
สิ่งที่สนับสนุน
ผู้เชี่ยวชาญ - ทางสมาคมจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เข้าร่วมดูแลผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลที่สมาชิกปฏิบัติงานอยู่ ตามที่สมาชิกร้องขอโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน
วิชาการ - การสนับสนุนทางวิชาการจะมีในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจมีการปรับเปลี่ยนไปไปตามยุคสมัย อาทิเช่น การประชุมวิชาการ Journal Club สื่อทางวิชาการ การปรึกษาผู้ป่วยเป็นรายกรณี (Case Conference) ฯลฯ
เงินทุน - เป็นการสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่า เพื่อให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปใช้เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องนำส่งข้อมูลผู้ป่วยให้แก่สมาคม ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการรักษาและทางวิชาการโดยไม่มีการแสวงหาผลกำไร บางส่วนของข้อมูลจะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารให้เหมาะสมสำหรับนำส่งให้ผู้บริจาค โดยการจัดการกับข้อมูลผู้ป่วยจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบคุคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง