การประชุมวิชาการประจำปี โดยสมาคม

หลักการและเหตุผล

การแก้ไขภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความผิดปกติบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่สมบูรณ์ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทีมเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพในการดูแล รักษา อย่างต่อเนื่อง เมื่อพบความผิดปกติของผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งผู้ป่วยหมดการเจริญเติบโต รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 20 ปี โดยต้องอาศัยการประสานงานของทีมเครือข่ายเพื่อส่งต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การดูแล รักษา ระหว่างสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ กุมารแพทย์ จิตแพทย์ แพทย์หู คอ จมูก พยาบาล นักแก้ไขการพูด นักแก้ไขการได้ยิน นักสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่าคนปกติทั่วไป และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข ปัจจุบันมีสถานบริการเพียงไม่กี่แห่ง ที่พร้อมให้การรักษาผู้ป่วยอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ แบบสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ผู้ป่วยต้องเดินทางเพื่อเข้ารับการรักษากับทีมบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 1 แห่ง ส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพด้านความต่อเนื่อง เชื่อมโยง ด้านการดูแล รักษา ระหว่างสถานบริการ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการวางระบบ สร้างการประสานจัดการเชิงกระบวนการ ประกอบกับนโยบายของประเทศที่มีการผลักดันให้นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานทุกภาคส่วน ทำให้บุคลากรทาง การแพทย์ด้านต่าง ๆ จำเป็นต้องมีความรู้และทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย สมาคมความพิการปากแหว่งเพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรด้านต่าง ๆ ในทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ให้การดูแล รักษาผู้ป่วยกลุ่มปากแหว่ง เพดานโหว่ และความผิดปกติบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ให้เท่าเทียมกัน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสุขภาพ เข้ามาช่วยในการจัดการและสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยในการเข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์ และสุขภาพที่ทันสมัย ทั่วถึง เท่าเทียม รองรับการเข้าสู่สังคมดิจิทัลหรือยุคอนาคต ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมฯ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงได้มีการติดต่อประสานงานการจัดการประชุมเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการรักษาของทีมเครือข่ายสหวิชาชีพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการสนับสนุน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเป็นกลไกในการขับเคลื่อน หรือพัฒนากระบวนการ และนวัตกรรมทางการแพทย์ ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และผู้มีความผิดปกติบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ในการเข้าถึงการรักษา หรือรับบริการตามสถานบริการของเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพ อย่างเท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ เสมือนหนึ่งว่าเข้ารับการบริการจากสถานบริการเดียวกัน

สารจากนายก

ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความผิดปกติบริเวณใบหน้าและศีรษะ พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว มองเห็นได้ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวล้วนได้รับความทุกข์ทั้งทางกายและใจ หลายครอบครัวประสบปัญหาทางสังคมด้วย การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมิได้สิ้นสุดแค่การรักษาทางกาย แต่เรายังต้องช่วยดูแลทางด้านจิตใจและสังคมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายต่าง ๆ ร่วมมือกันเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้

พันธกิจหลักของสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย คือ การสร้างระบบการดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุดสําหรับผู้พิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ โดยความร่วมมือสหสถาบันในการให้การศึกษา ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ การวิจัย และส่งเสริมการดูแลแบบสหวิทยาการ ในปีนี้ สมาคมฯ จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการประจำปี 2563 ซึ่งเป็นครั้งที่ 13 ขึ้นในวันจันทร์ที่ 9 และวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพ โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกที่จะเดินทางมาร่วมประชุม ณ สถานที่ดังกล่าว หรือร่วมประชุมในรูปแบบ online ก็ได้ ถือเป็นการประชุมแบบ hybrid ครั้งแรกของสมาคมฯ นอกจากนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะมีการหารือเพื่อให้ได้ protocol การดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ซึ่งจะกลายเป็น Thailand Consensus for Cleft and Craniofacial Care 2020 (TCCC 2020)

แม้ว่าปีนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับพวกเราหลาย ๆ คน กระผม ในนามตัวแทนของสมาคมฯ ขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจ สมาชิก บุคลากรทางการแพทย์ นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมประชุมวิชาการของสมาคมฯ ในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นสิ่งดี ๆ ให้กับผู้ป่วยของเรา และขอขอบคุณศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ สมาชิกสมาคมฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง

รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์
นายกสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย

สารจากเจ้าภาพ

ในนาม ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอขอบคุณ สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย ที่ให้โอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการประจำปี 2563 ครั้งที่ 13 ขึ้นในวันจันทร์ที่ 9 และวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ทั้งที่รับชมผ่านการถ่ายทอดสด (online) และเดินทางมาเข้าร่วม ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (in-person) จะได้รับการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนาในเชิงลึก จากวิทยากรผู้มีประสบการณ์การทำงานตรง ทุกสาขาวิชาชีพ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านเทคโนโลยีด้านการรักษา และการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงเครือข่าย ให้เป็นไปตามแนวโน้มของยุคอนาคต ซึ่งใช้เทคโนโลยีเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทำงานในทุก ๆ ด้าน

ขอเชิญทุกท่านที่ทำงานอยู่ในวงการดูแล รักษาผู้ป่วย หรือ มีความสนใจ เข้าร่วมเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพของประเทศไทย ในการดูแล รักษาผู้ป่วยภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะอื่น ๆ ทางเจ้าภาพการจัดประชุมฯ ขอเรียนเชิญทุกท่าน เข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปีในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับผลประโยชน์ จากการดูแลทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

ผศ. นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน
รักษาการแทนผู้อำนวยการ
ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อัตราค่าลงทะเบียน

สมัครสมาชิกสมาคม ฯ
16 ต.ค. - 8 พ.ย. 2563 In-person Online
Physician/Dentist 2,000 1,200
Non-physician/Non-dentist 1,800 1,200
Trainee 1,600 1,000
ลงทะเบียนในวันประชุม In-person Online
Physician/Dentist 2,500 1,400
Non-physician/Non-dentist 2,000 1,400
Trainee 1,800 1,400

* สำหรับสมาชิกตลอดชีพ (อายุเกิน 65 ปี) ยกเว้นค่าลงทะเบียนงานประชุม THAI CLEFT 2020
* สำหรับการลงทะเบียนแบบ In-person ราคาดังกล่าวรวมอาหารว่าง 4 มื้อ และอาหารกลางวัน 2 มื้อ ท่านสามารถเข้าร่วม Welcome dinner ในวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.00-21.30 น. และได้รับของที่ระลึกภายในงาน
* สำหรับการลงทะเบียนแบบ Online สามารถสั่งจองที่นั่ง Welcome dinner โดยโทรติดต่อที่ 053-935177, 09-3035-7733
* หากผู้สมัครมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเข้าประชุม ผู้จัดประชุมขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน
* สำหรับผู้ลงทะเบียนสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังได้

อัตราค่าลงทะเบียน

สมัครสมาชิกสมาคม ฯ
ค่าลงทะเบียน Physician/Dentist Non-physician/Non-dentist Trainee
In-person Online In-person Online In-person Online
16 ต.ค. - 8 พ.ย. 2563 2,000 1,200 1,800 1,200 1,600 1,000
ลงทะเบียนในวันประชุม 2,500 1,400 2,000 1,400 1,800 1,400

* สำหรับสมาชิกตลอดชีพ (อายุเกิน 65 ปี) ยกเว้นค่าลงทะเบียนงานประชุม THAI CLEFT 2020
* สำหรับการลงทะเบียนแบบ In-person ราคาดังกล่าวรวมอาหารว่าง 4 มื้อ และอาหารกลางวัน 2 มื้อ ท่านสามารถเข้าร่วม Welcome dinner ในวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.00-21.30 น. และได้รับของที่ระลึกภายในงาน
* สำหรับการลงทะเบียนแบบ Online สามารถสั่งจองที่นั่ง Welcome dinner โดยโทรติดต่อที่ 053-935177, 09-3035-7733
* หากผู้สมัครมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเข้าประชุม ผู้จัดประชุมขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน
* สำหรับผู้ลงทะเบียนสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังได้

วันเวลา

ประชุมในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.00-16.00 น.



สถานที่

  • ห้องประชุม 201 อาคารสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITSC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (จำกัดจำนวน 150 ท่าน)

  • Online by Zoom Webinar (ไม่จำกัดจำนวน)

ผู้เข้าร่วมการประชุม

214 ท่าน


โดยแยกตามสหสาขาวิชาชีพได้ดังนี้

    สาขาวิชาชีพ จำนวน
  • Dentist
  • 14
  • Nurse
  • 26
  • Oral and maxillofacial Surgeon
  • 14
  • Orthodontist
  • 15
  • Plastic Surgeon
  • 18
  • Prosthodontist
  • 2
  • Social Worker
  • 4
  • Speech
  • 16
  • Trainee
  • 12
  • Speaker
  • 40
  • Other
  • 53


แนะนำโรงแรม

สถานที่จัดเลี้ยง

ผู้จัดการประชุม

ผู้สนับสนุน

  • มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม
  • Smile Train
  • บริษัท ชิชาง คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท อินเตอร์เมดิคอล จำกัด
  • บริษัท บางกอกยูนิเทรด จำกัด
  • บริษัท เยอรมนี อินเตอร์เนชั่นแนล เมดดิคอล จำกัด
  • บริษัท สุวรรณ เมดิคอล ซัพพลาย จำกัด
  • บริษัท เมดเดฟ เฮ็ลธ์แคร์ จำกัด
  • มูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ
  • บริษัท คัสตอมไมซ์ เทคโนโลยี จำกัด
  • ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น