ขอเชิญสมาชิกและผู้สนใจ เข้าร่วมการประชุมประจำปีครั้งที่ 7 ของสมาคมฯ เน้นในเรื่องการสร้างและดูแลศูนย์เฉพาะทาง ทางด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ที่ดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ในประเทศไทย
การแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่สมบูรณ์ที่สุด จำเป็นต้องมีความร่วมมือประสานงานการรักษาเป็นเครือข่าย โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ อาทิ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งบุคลากรทางสาธารณสุขอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในทีม
สถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด มักมีอุปสรรค์ปัญหาในการเดินทาง ที่พักอาศัย รวมทั้ง ภาวะเศรษฐกิจ การรวมการรักษาทุกอย่างให้อยู่เฉพาะที่ศูนย์กลางอาจเป็นอุปสรรคต่อการให้การรักษาผู้ป่วยที่ควรได้รับการแก้ไขความผิดปกติของส่วนต่างๆ ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อความสมบูรณ์ของการแก้ไขที่ต้องใช้เวลาตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึง 20 ปี การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและประสานงานการรักษาจึงมีความสำคัญ และเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความรู้และเข้าใจรูปแบบแนวทางการรักษาที่เป็นปัจจุบันตามพัฒนาการของเทคโนโลยีในการรักษา และมีความพยายามในการสร้างศูนย์การดูแลสร้างทีมที่สามารถรับภาระในส่วนต่างๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งสามารถก่อตั้งศูนย์การดูแลและทีมอย่างสมบูรณ์ได้ จึงนำมาสู่การจัดประชุมในครั้งนี้
หัวใจสำคัญที่นำมาสู่ ความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
คือ การทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ และ การสร้างเครือข่ายการรักษาพวกเราบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ได้มีความพยายามสร้างทีมและเครือข่ายการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่มาตลอด โดยเริ่มจากการสร้างศูนย์กลางตามภาคต่างๆ เพื่อนำไปสู่ความฝันการมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งประเทศ
คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และ ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสมาคมความพิการปากแหว่งเพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งผู้สนใจ มาร่วมสัมผัสวิชาการและองค์ความรู้ต่างๆ ท่ามกลางบรรยากาศและวัฒนธรรมที่งดงามของเชียงใหม่ในเทศกาลลอยกระทง
นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน
เลขาธิการสมาคมฯ และประธานการจัดงาน
วันพุธที่ 5 ถึงศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรม กรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ภาควิชาทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมสำหรับเด็ก จัดงาน “วันครอบครัวยิ้มสวยเสียงใส ครั้งที่ 4” ณ ห้องประชุมสุธาสิโนบล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รถตู้ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผู้เข้าร่วมประชุม จากสนามบิน มายังโรงแรมที่จัดประชุม 4 พ.ย. 57
รอบที่ 1 เวลา 14.00 น.
รอบที่ 2 เวลา 16.00 น.
รอบที่ 3 เวลา 18.00 น.
พุธ 5 - ศ 7 พฤศจิกายน 2557
เวลา | หัวข้อเรื่อง |
---|---|
9:00-9:30 | พิธีเปิดการประชุม |
ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ กรรมการวิชาการสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย ดำเนินรายการ | |
ผศ.พญ. วิมล ศิริมหาราช หัวหน้าศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานและเล่าความเป็นมาและการดำเนินงานของศูนย์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
รศ.นพ. วิชัย ชี้เจริญ นายกสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย กล่าวถึงความเป็นมาและการจัดงานประชุมประจำปี | |
รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุม | |
9:30-10:30 | งานแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์จรัญ มหาทุมะรัตน์ หัวหน้าศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
กล่าวถึงประวัติของมนุษยชาติในความพยายามที่จะผ่าตัดแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่ เช่นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อ 390 ปีก่อนคริสต์กาล มีการเย็บปากแหว่งด้วยเข็มยาวแล้วผูกด้วยเชือกเป็นรูปเลข 8 ต่อมาราว 100 ปีที่แล้วในยุโรปมีบันทึกถึงพัฒนาการในการรักษา เช่น ปี 1868 มีการทำ premaxillar setback จนถึงยุคของ Paul Tessier ในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งถือเป็นยุคใหม่ มีลูกศิษย์มากมายที่กลายเป็นผู้นำในวงการด้านนี้ ในประเทศไทย ศิริราชซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรก มีงานทางด้านนี้โดยแพทย์หลายท่าน (ขาดข้อมูลจากศิริราช) ในจุฬา ผู้ที่ผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่มักเป็นกุมารศัลยแพทย์ จนมาถึง นพ.จารุ สุขบท ในปี 2508 นพ.ถาวร จรูญสมิทธิ์ ในปี 2512 นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ ในปี 2529 กลับจากการฝึกอบรมในต่างประเทศมาเริ่มงานทางด้าน craniofacial surgery มีการประชุม craniofacial conference ขึ้นเป็นครั้งแรก มีอจ.ดิลก จากเชียงใหม่มาช่วย ผ่าตัดความพิการชนิดรุนแรงเป็นผลสำเร็จ มี "จุฬาเทคนิค" สำหรับรักษาโรคงวงช้าง (frontoethmoidal encephalomeningocele) ในรามาธิบดี ศ.วิจิตร บุญยะโหตระ จบการฝึกอบรมจากอเมริกา ศ.นพ.เติมศักดิ์ นาวีการ เรียนต่อกับ Dr. Ralph Millard จนต่อมาเป็นนพ.อาทิ เครือวิทย์ และนพ.เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร เริ่มต้นและสร้างงานทางด้านปากแหว่งเพดานโหว่ ที่เชียงใหม่ มีอ.ดิลก เปรมัยเฐียร อ.สมศักดิ์ อ.ประโยชน์ พุทธิรักษ์กุล อ.สมบูรณ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข อ.วิมล ศิริมหาราช อ.กฤษณ์ บุกเบิกงานทางด้านนี้มาจนถึงปัจจุบัน ที่สงขลา อ.ดิลก เปรมัยเฐียร ไปช่วยงานผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ จนกระทั่งมีการเปิดศูนย์ขึ้นในปีพศ.2544 ร่วมกับ Smile Train โดยอ.วิชัย ชี้เจริญ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ที่ขอนแก่น เริ่มโครงการตะวันฉายในปี 2546 โดยศ.นพ. บวรศิลป์ เชาวชื่น ซึ่งเป็นนายกสมาคมความพิการปากแหว่งฯ คนที่ 2 ในช่วงหลังการประชุมสมาคมฯครั้งที่ 2 อ.บวรศิลป์ได้หารือกับอ.จรัญถึงการก่อตั้งสมาคมฯ จนเกิดขึ้นได้สำเร็จในเดือนมีนาคม 2546 และก่อตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กันยายน 2546 มีกรรมการก่อตั้งหลายสาขา 23 ท่านจากทั่วประเทศ มีนายกสมาคมมาแล้ว 3 ท่าน ได้แก่ อจ.จรัญ อจ.บวรศิลป์ และอจ.วิชัย ปัจจุบัน เน้นที่การนำเทคโนโลยีมาใช้ ทำงานเป็นทีมร่วมมือร่วมใจ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ถ่ายทอดความรู้ อนาคต ควรจะมี preventive regime (ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค), management regime (การผ่าตัดในครรภ์, rapid prototyping, gene therapy, stem cell, legal abortion), collaboration regime (สปสช, สวทช, กระทรวงสาธารณสุข, พอสว, fund raising ร่วมกับสมาคมฯเป็นศูนย์กลาง), ethic and legal, research, CSR "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์" |
10:30-11:00 | พักรับประทานอาหารว่าง และชม poster presentation |
11:00-12:00 | การสร้างทีมและเครือข่าย: ประสบการณ์ตรง โดยรศ.พญ.ดร.ลักขณา ไทยเครือ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักการของเครือข่าย (1) มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและวัดได้ (2) มีสมาชิก (3) มีกิจกรรม (4) มีการสื่อสารมากกว่า 1 ทางเลือก การสร้างเครือข่าย (1) มีองค์ประกอบตามหลักการของเครือข่าย (2) มีการบริหารจัดการที่ดี (3) สื่อสารสม่ำเสมอ (4) ถ้ามีเครือข่ายย่อย ต้องมีตัวเชื่อม การธำรงเครือข่าย (1) มีทุนสนับสนุนพอเหมาะ (2) มีการบริหารจัดการที่ดี (3) มีผลงานตามวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่อง (4) มีการสื่อสารต่อเนื่องและสร้างสรรค์ (5) มีแกนนำหรือผู้ประสานงานที่คอยขับเคลื่อน ตัวอย่างเครือข่ายจากประสบการณ์ตรง (1) แมงกะพรุนพิษ (2) ดนตรีบำบัด (3) อุบัติเหตุภูเก็ตและภาคใต้ (4) WHO Consultants (5) Global Outbreak Alert (6) Surveillance and Rapid Response |
12:00-13:00 | รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00-16:30 |
แนวทางการรักษาปากแหว่งเพดานโหว่แบบสหสาขาวิชาชีพ ตาม protocol ครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิดถึง 20 ปี
ดำเนินการโดย อ.นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน และคุณสุธีรา ประดับวงษ์ โดยทีมวิทยากร 1) รศ.นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ plastic surgery คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) รศ.ทพ.นพ.ธงชัย นันทนรานนท์ oral & maxillofacial surgeon คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3) รศ.ทพญ. มารศรี ชัยวรวิทย์กุล orthodontist คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4) พญ. นันทิการ์ สันสุวรรณ ENT คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5) ผศ.ดร. ศรีวิมล มโนเชี่ยวพินิจ speech therapist คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช 6) อ. พนิดา ธนาวิรัตนานิจ audiologist คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7) รศ.พญ. นิรมล พัจนสุนทร psychiatrist คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8) รศ.ทพ.ดร. ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล prosthodontist คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9) สุธีรา ประดับวงษ์ nurse คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การดูแล ในช่วง Perinatal ได้แก่การตรวจคัดกรองโดย อัลตร้าซาวนด์ ช่วง Posnatal ด้าน psychology มารดามักจะรู้สึก guilt จึงไม่ค่อยกล้าใกล้ชิดเลี้ยงดู โดยเฉพาะหลัง airway management procedure ปัญหาเรื่อง Breast Feeding จุกนมที่ใช้ควรบากเป็น cruciate มากกว่าเจาะกลม ผู้ป่วยหนักๆ บางรายต้องใช้ obturator ช่วย การใส่ obturator พร้อมกับ feeding tube จะเกิดแรงกดลงบนเหงือก ทำให้เจ็บ การ feed ด้วยจุกนม อาจทำให้ defect ผิดรูปไปมากกว่าเดิม ผู้ป่วย CLP มีความเสี่ยงเรื่องการได้ยินจาก otitis media with effusion จำเป็นต้องตรวจคัดกรองการได้ยิน เนื่องจากการได้ยินสัมพันธ์กับการพูด การตัดสินใจทำ myringotomy ขึ้นอยู่กับ physical findingร่วมกับการตรวจการได้ยิน หรือพิจารณาจากพัฒนาการทางภาษา หากพบว่าผิดปกติ สามารถทำ myringotomyได้ทันที โดยไม่ต้องรอผลของ medical treatment อ นนท์ เสนอว่าน่าจะมีสมุดบันทึกการตรวจแบบสหสาขาวิชาชีพเพื่อใช้ติดตามการรักษา ป้องกันไม่ให้เกิดการตกหล่น โดยให้ผู้ปกครองเก็บไว้ โดยทั่วไปจะทำ cheiloplasty เมื่ออายุประมาณ3เดือน Nasoform เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อคงสภาพจมูกให้อยู่ในรูปร่างที่ดีต่อไปภายหลังผ่าตัด โดยรายละเอียดและวิธีการการทำ จะสาธิตในวันพรุ่งนี้ช่วงบ่าย สำหรับบทบาทของ speech therapist คือ ตรวจประเมินความผิดปกติ และตรวจประเมินความก้าวหน้าของการรักษา และการรักษาร่วมกับให้ความรู้ แนะนำวิธีการพูด และเปรียบเทียบกับเสียงพูดปกติแล้วแก้ไข ภายหลัง palatoplasty จะประเมินการพูดในแง่ Resonance การปิด alveolar cleft ต้องพิจารณาเรื่อง Maxillary growthและการเจริญของฟันโตเรื่องฟัน ต้องนัดตรวจติดตามเป็นระยะและให้ความสำคัญของ Oral hygiene การประเมินผู้ป่วย นอกจากจะมุ่งเน้นไปที่การพูดแล้ว ยังต้องพิจารณาปัญหาการได้ยินด้วย การรักษาโดย myringotomy จะช่วย protect middle ear สำหรับผู้ป่วย แต่การลด noise pollution ก็เป็นเรื่องสำคัญ ด้านพัฒนาการ จะประเมิน cognitive เชาว์ปัญญา หลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยเล่นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต เนื่องจาก device เหล่านี้ไม่ช่วยพัฒนาการทางภาษาเลย |
16:00-17:00 | ประชุมเครือข่ายการรักษาในภาคเหนือ
โดยสุพชยาฌ์ ธิป่าหนาด และอ.นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ |
18:30 | งานเลี้ยงต้อนรับ ปิติ นาฏการรับขวัญ โดยปรัชญา ศรีบุญเรือง และคณะนักศึกษาทันตแพทย์, ขับร้องและเล่นกีตาร์โดย รศ.นพ. วิชัย ชี้เจริญ, นาฏลีลา ล้านนาภูวดล โดยนศพ. ธัญญารัตน์ เทพเงิน และคณะนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5, ขับร้องเพลงโดยน้องๆผู้ป่วยปากแหว่งจากมูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ (YMCA จ.เชียงราย), พลังแห่งหยดน้ำตา โดยนศพ. อภิสิทธิ์ ทับช่วยขวา และคณะนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4, ผู้เข้าร่วมงานร่วมร้องคาราโอเกะและลอยกระทง (ไม่มีการปล่อยโคมลอย เนื่องจากฝนตก) |
เวลา | หัวข้อเรื่อง |
---|---|
8:30-9:00 | Primary cleft lip nose correction & Post-op nasal conformer (Nasoform)
อ.นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน และ ผศ.ทพญ.ดร. พนารัตน์ ขอดแก้ว คณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นนวัตกรรมที่ใช้เพื่อควบคุมรูปทรงของจมูกหลังผ่าตัด primary rhinoplasty เนื่องจากภายหลังผ่าตัด จมูกมักจะคงรูปที่ดีได้ไม่นาน ก็จะ collapse ลงมาใหม่ ต้องถ่ายรูปคนไข้ preop และ postop stat ส่งให้อาจารย์พนารัตน์ เพื่อเตรียมทำ nasoform ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด primary rhinoplasty ให้ใส่ nasoform 6 เดือน แต่สำหรับsecondary rhinoplasty ใส่ 1 ปี ช่วงท้ายการบรรยาย อ.กฤษณ์ กล่าวว่า nasoform เป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลในระดับชาติ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 |
9:00-10:00 | พัฒนาการของโคราชแนม (KORAT NAM) และการติดตามผลการรักษา ในระยะเวลา 5 ปี
อ.พญ. ปองใจ วิรารัตน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีศูนย์ปากแหว่ง เพดานโหว่ ไม่เป็นทางการ ใช้สถานที่ในฝ่ายทันตกรรม เหตุผลของการใช้ NAM 1)
กรณี wide alveolar cleft 2) การผ่าตัดปลูกกระดูกก็จะล้มเหลว 3)
premaxilla อาจจะยื่นมากไป ห้อยลงต่ำ PSO พัฒนามาตั้งแต่ 1950 จนถึง Grayson และคณะ ในปี 1993 ริเริ่มใช้ PNAM ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ 3-4 เดือน กระดูกอ่อนตัว KORAT NAM 3 ชนิด ใช้ตามอายุและช่วงเวลา NAM 1 - Active NAME ตั้งแต่เกิดใหม่ ใส่ obturator 3 วัน แล้วใส่ NAM 6 mo แต่ถ้าสันเหงือกห่างมาก จะใส่สกรูก่อนให้ชิด จึงจะใส่ เลี่ยงการบาดเจ็บ NAM 2 - Passive NAM after lip repair before palate repair NAM 3 - after palate repair ใส่ไปเรื่อยๆ เท่าที่คนไข้ยอม วันละ 1 ชม. ไม่ใส่นอน ประโยชน์ของ KORAT NAM ได้แก่ 1) จัดเรียงสันเหงือก 2) จัดโครงสร้างจมูก 3) เป็นเพดานเทียม ทำให้ช่วยให้ผ่าตัดได้ง่าย ลดผ่าตัดซ้ำ ตำแหน่งลิ้นถูกต้อง กินได้ดี มีการแสดงภาพผู้ป่วยที่มีการใช้ KORAT NAM 6 ราย รายแรกๆมีภาวะแทรกซ้อนบ้าง Korat Nose Lift technique - เป็นเทคนิคที่ใช้ในกรณี incomplete cleft lip เพื่อยกขอบรูจมูกขึ้น แล้วต่อด้วย Korat NAM 3 พ่อแม่ต้องช่วยอย่างมาก จึงจะสำเร็จ หลังการพูด มีผู้เข้าร่วมประชุมซักถาม แสดงความคิดเห็น และชื่นชมในผลงานเป็นอย่างมาก |
10:15-10:50 | Secondary lip nose correction โดย รศ.นพ. วิชัย ชี้เจริญ ศัลยแพทย์ตกแต่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนพ.ดุลยณัฐ อรัณยะปาล ศัลยแพทย์ตกแต่ง จ.สงขลา อ.วิชัย แสดงการกลับมามี nose deformity ภายหลังการผ่าตัดแก้จมูกมักมีการกลับเป็นซ้ำ ต้องใช้วิธี open rhinoplasty จึงจะได้ผลดี พูดถึงข้อควรคำนึงในการทำผ่าตัดในด้านต่างๆ นพ.ดุลยณัฐ ได้ผ่านการศึกษาต่อที่เกาหลี แนะนำควรทำก่อนเข้าโรงเรียนและช่วง 13-14 ปีที่ maturity แล้ว สำหรับ unilateral cleft-lip nose deformity ทำ open rhinoplasty เพื่อแก้ที่ septum ทำเสาเข็มให้ตรง ทำ lateral crural strut graft ร่วมกับ edial-upward advancement เพื่อแก้กระดูกอ่อนปีกจมูก ทำ vestibular expansion และ bone graft ที่ฐานปีกจมูก มีการทำ septal extension graft ยืดปลายจมูก ร่วมกับ tip graft ด้วย ถ้าเป็น bilateral cleft-lip nose deformity ทำ costal graft, vestibular expansion และ medial-upward advancement of lower lateral alar cartilages (แก้ secondary vestibular defect ด้วย) |
11:30-12:30 | Basic in distraction osteogenesis
โดยรศ.ทพ.ธงชัย นันทนรานนท์ และ รศ.ทพญ. วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยายถึงพื้นฐานของ distraction osteogenesis โดยการตัดกระดูกแล้วค่อยแยกชิ้นกระดูกออกจากกันเพื่อให้มีการสร้างกระดูกใหม่ Distractor มีทั้ง external และ internal ใช้ใน maxilla + mandible ทำให้ไม่ต้องใช้ bone graft อ.วิภาพรรณ บรรยาย ต้องเลือกรายไหนจะทำแบบ conventional รายไหนทำแบบ distraction ระหว่างการทำ distraction ต้องเตรียมโดยดูแลความสะอาดในช่องปาก แล้วจัดฟัน แสดงขั้นตอนการจัดฟันจนผ่าตัด แสดงภาพผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา cleft ทำ bimaxillary osteotomy, cementoblastoma of maxilla ทำ partial maxillectomy |
12:30-13:30 | รับประทานอาหารกลางวัน ไว้อาลัย อ.นพ. เอกสิทธิ์ อุตรวิเชียร และประชุมสามัญประจำปีสมาคมฯ |
13:30-14:30 | แยก 4 ห้อง Distraction osteogenesis technique โดยผศ.นพ.เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร, รศ.นพ.ธงชัย นันทนรานนท์ และรศ.ทพญ.วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล ปัญหาการพูด ใครแก้ได้โดยรศ.ดร.สุมาลี ดีจงกิจ ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น และรศ.ทพ.ดร.ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล พยาบาลทีมงานที่ขาดไม่ได้โดยคุณสุพชยาฌ์ ธิป่าหนาด คุณพรพรรณ ดาศรี คุณศิริจันทร์ แก้วสนิท และคุณสุธีรา ประดับวงษ์ จมูกสวยด้วย nasoformโดยอ.นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน ผศ.ทพญ.ดร.พนารัตน์ ขอดแก้ว ทพญ.กมนพร นาเนกรังสรรค์ คุณวรินทร์รักษ์ ปัญจขันธ์ และคุณวิลาวัลย์ ฝั้นคำปวง |
15:00-16:30 | Interesting cases: panel discussion
ดำเนินรายการโดยรศ.ทพญ.นิตา วิวัฒนทีปะ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอ.ทพญ. นฤมล ทวีเศรษฐ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยทีมวิทยากร รศ.นพ. นนท์ โรจน์วชิรนนท์ plastic surgeon คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ.นพ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ oral & maxillofacial surgeon คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, อ.ทพญ. วรรธิดา จิตตานนท์ orthodontist คณะทันตแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, ผศ.พญ. นันทิการ์ สันสุวรรณ ENT คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อ.ดร. กัลยาณี มกราภิรมย์ speech therapist คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, ผศ.ทพญ. สิตา ถาวรนันท์ prosthodontist คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คุณอรัญญา สังข์ทอง nurse คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นำเสนอผู้ป่วย 2 ราย เป็นตัวอย่างการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ รายแรกจากมหิดล เป็น hemifacial microsomia รายที่สองจากศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็น Robert syndrome มี multiple-suture craniosynostosis, cleft hands with radial deficiency, mental retardation และ cleft lip and palate |
18:30-21:00 | งานเลี้ยงรับรองวิทยากรและกรรมการบริหารสมาคมฯ ณ ภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง |
22:00 | ปล่อยโคม ณ บึงน้ำหน้าโรงแรม |
เวลา | หัวข้อเรื่อง |
---|---|
8:30-11:15 | เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในกระทรวงสาธารณสุข
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.นพ. เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตัวแทนภาคเหนือ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่และศูนย์ฯเชียงใหม่ - นพ. อนันต์ วัชรจิตรธรรม และ อ.นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน ปากแหว่งเพดานโหว่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของงานบริการ ช่วงเริ่มต้นมีโครงการยิ้มสวยเสียงใสพอดี ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ ไม่มีทีม มีภาระงานอื่นๆ จึงต้องทำเท่าที่ทำได้และส่งต่อเมื่อจำเป็น ในระยะหลังมีศัลยแพทย์ตกแต่งมาเพิ่ม ผ่าตัดปีละ 20 กว่าราย และมีความร่วมมือกับศูนย์ที่รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ โดยวางแผนจะสร้างระบบ และสร้างเครือข่าย 8 จังหวัดในภาคเหนือ ภายใน 3 ปี ซึ่งจะต้องดูแลคนไข้จากประเทศใกล้เคียงด้วย พร้อมเสนอ treatment protocol ให้เครือข่าย และรวมรวมข้อมูลให้เชื่อมโยงกัน ตัวแทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่ คุณธนพล มีอุดร และสุพชยาฌ์ ธิป่าหนาด พยาบาลประสานงานจากศูนย์ฯเชียงใหม่ การสนับสนุนของสปสช. เริ่มจากโครงการยิ้มสวยเสียงใสเทิดพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในช่วง 2548-2553 ในช่วง 2557-2558 จะสนับสนุนผู้ป่วยเด็กที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิทธิว่าง โดยให้ 1) การผ่าตัด (อยู่ในสิทธิประโยชน์หลัก) โดยใช้ DRG 2) การใส่อุปกรณ์ ไม่เฉพาะเพดานเทียม (อยู่ในสิทธิประโยชน์หลัก) 800 บาทต่อชิ้น 3) การดูแลต่อเนื่องด้วยทันตกรรมจัดฟัน เหมาจ่าย 48,000 บาทตลอดอายุการรักษา 4) การดูแลรักษาฟื้นฟูทางการแก้ไขการพูด 3,850 บาทต่อรายต่อปี และการได้ยิน และ 5) สนับสนุนโดยสภากาชาดไทย เป็นค่าเดินทาง นอกจากเพดานเทียม มีการสนับสนุนตามจริง โดยมีราคาสูงสุด obturator + screw 1,500 บาทต่อชิ้น, obturator + NAM 1,500 บาทต่อชิ้น, obturator + screw + NAM 2,500 บาทต่อชิ้น, NAM เพิ่มเติม 700 บาทต่อชิ้น, maxillary distractor 200,000 บาทต่อชิ้น ไม่เกิน 20 ชิ้น แต่ต้องทำเรื่องขออนุมัติ ในปี 2557 มีหน่วยบริการที่ผ่าตัดได้ 203 แห่ง จัดฟัน 54 แห่ง ฝึกพูด 34 แห่ง หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยสามารถลงทะเบียนผู้ป่วยได้เอง แล้วส่งต่อให้หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียน ผู้ป่วยสามารถรับบริการด้านจัดฟันและฝึกพูดได้ทั่วประเทศ หน่วยบริการต้องบันทึกผลการบริการ ทางสปสช.จึงจะจ่ายเงินทุกเดือน ในด้านการพยาบาล เสนอตัวอย่างเหตุการณ์ผู้ป่วยจริง กรณีผู้ป่วยคลอดรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ต้องการรักษาที่รพ.เดียวกัน สปสช.ตอบว่า ถ้าเป็นการผ่าตัดและใช้อุปกรณ์ จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว เพราะเป็นเงินในกองทุนเขต แต่การจัดฟันและฝึกพูด ใช้เงินจากงบประมาณสปสช.ส่วนกลาง ไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว และถ้าผ่าตัดไปแล้ว การตรวจติดตามก็ไม่สามารถเบิกค่าเดินทางได้ ตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี - นพ.มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ศัลยแพทย์ตกแต่งและทีม ภาคบริการไม่ได้มีแต่กระทรวงสาธารณสุข (12 เขตสุขภาพ) ยังมีกลาโหม รร.แพทย์ ภาคประชาชน ฯลฯ เสนอเขตบริการสุขภาพที่ดี รวมทุกภาคส่วน ดูแลประชาชนอย่างน้อย 4-5 ล้านคน "one region, one ownership" รพ.สรรพสิทธิประสงค์ เป็นรพ.ระดับ A ของเครือข่าย 1,188 เตียง อัตราครองเตียง 123% ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ 128 ราย (35% cleft lip) ผ่าตัด 45 รายต่อปี ฝึกพูด 32 รายต่อปี 308 ครั้งต่อปี ปัจจุบันสามารถลดขั้นตอนการให้บริการที่ OPD เสนอแนะปรับปรุง DRG เพราะมีความไม่เหมาะสม นายกกาชาดประจำจังหวัดเปลี่ยนบ่อย ทำให้มีปัญหา วางแผนจะสร้าง cleft center ในอนาคต ตัวแทนจากภาคใต้ รพ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา - นพ.วีระพงศ์ เลิศสุวรรณาวิน จากการทำงานมา 2 ปี ศัลยแพทย์ตกแต่ง 2 คน ผ่าตัด cleft lip 16 รายและ cleft palate 18 รายต่อปี มีทันตแพทย์เด็กทำ obturator ยังไม่ได้ทำ NAM (ได้เคยไปเรียนการทำ NAM จากโคราชมาแล้ว) ทันตแพทย์จัดฟัน 2 คน, ENT, speech therapist, maxillofacial surgeon (ได้ทำ alveolar bone grafting 2-3 รายต่อปี) ร่วมดูแล ในจังหวัดสงขลามี 4 รพ.ใหญ่ที่ดูแลด้านนี้ 1) รพ.สงขลานครินทร์ 2) ทันตกรรม มอ. 3) รพ.หาดใหญ่ 4) รพ.ยะลา ตัวแทนจากภาคกลาง รพ.ชลบุรี - นพ.ธนะสิทธิ์ ก้างกอน มีผู้เชี่ยวชาญครบถ้วน ได้ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพครบถ้วนมากขึ้น ในวันเดียวกันที่ OPD โดยใช้คลินิกพิเศษ one stop service ที่ห้องฟัน 100% ส่วนการรักษาค่อนข้างครบถ้วน มีการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มีภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ |
11:15-12:15 | How to do fund raising ผู้ดำเนินรายการ สุธีรา ประดับวงษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดย รศ.นพ. นนท์ โรจน์วชิรนนท์ มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า โดย ศ.นพ. บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการแต่กำเนิดบริเวณศีรษะ ใบหน้า มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ โดย รศ.นพ. วิชัย ชี้เจริญ มูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ โดย คุณพนมวรรณ อยู่ดี |
12:15-12:30 | พิธีปิดการประชุม อ.นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน เลขาธิการสมาคมฯและประธานจัดงานประชุมฯ กล่าวสรุป และ รศ.นพ. วิชัย ชี้เจริญ นายกสมาคมฯ กล่าวปิดการประชุม |
ยอดผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 297 คน นับว่ามากที่สุดเท่าที่สมาคมฯเคยมีการจัดงานมา ประกอบด้วยแพทย์ 45 คน ทันตแพทย์ 94 คน พยาบาล 95 คน บุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 63 คน (รวมตัวแทนจากประเทศไทยลาว 7 ท่าน จาก MTEC และ NECTEC 7 ท่าน)
อัตราค่าลงทะเบียน | |
---|---|
แพทย์และทันตแพทย์ | 2,000 |
บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ นักศึกษา และผู้สนใจ | 1,200 |